fbpx
 - mustore

5 เทคนิค เตรียมความพร้อมก่อนขึ้นเวที

🎹👏 ฤดูกาลของการแข่งขันเปียโนกลับมาแล้ว น้อง ๆ พร้อมขึ้นเวทีแล้วหรือยังคะ ? วันนี้ครูพัทธ์มีเทคนิคดี ๆ 5 ข้อ ในการเอาชนะ ‘Stage Fright’ หรือโรคตื่นเวทีของนักดนตรีมาฝากค่ะ

1. ทำความรู้จักความตื่นเต้น
ความตื่นเต้นแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ตั้งแต่อาการทางร่างกาย พฤติกรรม และระดับ Cognitive เช่น บางคนมีอาการเหงื่อออก คอแห้ง ดื่มน้ำมากขึ้น มีความกังวลรุนแรง และเชื่อมโยงกับประสบการณ์ในอดีตที่เคยมีอาการแบบนี้แล้วจะเล่นผิด วันนี้จะต้องเล่นผิดอีกแน่ ๆ

2. ปรับทัศนคติ
ความตื่นเต้น เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้นกับทุกคน ไม่ใช่ความผิดปกติ หรือเป็นเรื่องที่ไม่ดีเสมอไป ในบางครั้งความตื่นเต้นยังช่วยเป็นเสน่ห์ของการแสดงสด ที่ทำให้การแสดงแต่ละครั้งของเราแตกต่างกันไปด้วยค่ะ

3. ฝึกฝนร่างกายนักวิจัยแนะนำว่าให้น้อง ๆ ลองออกกำลังกายประเภท Cardio เช่น วิ่ง กระโดดเชือก หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยและหัวใจเต้นเร็วขึ้น เพราะเวลาที่เราตื่นเต้น อาการเบื้องต้นคือ มักจะมีอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วกว่าปกติคนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ มักจะคุ้นชินกับภาวะร่างกายแบบนี้ และสามารถควบคุม หรือจัดระเบียบร่างกายได้ดีกว่านั่นเองค่ะ

4. Mental Skill Training
วางแผนการซ้อมฝึกฝนสมาธิและจิตใจ โดยลองหลับตา จินตนาการภาพตัวเองกำลังเดินขึ้นเวทีไปเล่นบทเพลงที่ฝึกซ้อมไว้ตั้งแต่เริ่มจนจบเพลง และลุกขึ้นโค้ง หากสามารถทำได้โดยไม่วอกแวกระหว่างบทเพลง แสดงว่าเรามีสมาธิที่พร้อมสำหรับการแสดงนี้ในระดับนึงแล้วค่ะ

5. Practicing Performance
เทคนิคสุดท้ายคือ การจำลองสถานการณ์ฝึกซ้อมเสมือนจริง โดยปกติเรามักจะเรียนในห้องเรียน ผู้ชมอาจจะมีแค่เพื่อนและคุณครู หรือคนที่เราคุ้นเคย แต่สำหรับการแข่งขันหรือการแสดง เราต้องเล่นต่อหน้าคนแปลกหน้าจำนวนมาก ในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย ย่อมทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นธรรมดา

น้องๆ สามารถลองใส่ชุดที่จะใช้แสดง แล้วจำลองสถานการณ์ให้ใกล้เคียงจริงมากที่สุด และหาโอกาสแสดงต่อหน้าผู้อื่นเยอะ ๆ จะช่วยให้คุ้นชินกับความตื่นเต้นได้ค่ะ

ความตื่นเต้นไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี และไม่ได้จำเป็นต้องกำจัดออกไป เพียงแต่เราจะต้องรู้จักจัดการกับความตื่นเต้นให้เหมาะสม ขอให้ทุกคนโชคดีและสนุกกับการประกวดที่กำลังจะมาถึงนะคะ

เรียบเรียงและแนะนำโดย

ครูพัทธ์ – พัทธ์ธีรา สุตัณฑวิบูลย์
Manager of Yamaha Music Academy Bangkok

 

ที่มา

    • Chanwimalueang, T., Aufegger, L., Adjei, T., Wasley, D., Cruder, C., Mandic, D., & Williamon, A. (2017). Stage call: Cardiovascular reactivity to audition stress in musicians. PLOS ONE, 12(4), e0176023. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0176023
    • Fancourt, D., Aufegger, L., & Williamon, A. (2015). Low-stress and high-stress singing have contrasting effects on glucocorticoid response. Frontiers In Psychology, 6. https://doi.org/10.3389/fpsyg.2015.01242
    • Williamon, A., Aufegger, L., & Eiholzer, H. (2014). Simulating and stimulating performance: introducing distributed simulation to enhance musical learning and performance. Frontiers In Psychology, 5. https://doi.org/10.3389/fpsyg.2014.00025

ตะกร้าสินค้า
  • No products in the cart.
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการติดตาม

    เราใช้คุกกี้ชนิดนี้เพื่อทำความเข้าใจท่านจากการใช้บริการเว็บไซต์ของเรา เช่น วิธีการที่ท่านเข้ามาในเว็บไซต์ สินค้าที่ท่านเข้าเยี่ยมชม ความลึกของเว็บไซต์ที่ท่านเข้าชม และระยะเวลาที่ท่านใช้บนเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของเว็บไซต์ รวมทั้งปรับปรุงการจัดวางสินค้าและบริการและประสบการณ์การใช้บริการของทางบนเว็บไซต์
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    ราคุกกี้ชนิดนี้เพื่อกำหนดโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านโดยพิจารณาจากพฤติกรรมของท่านบนเว็บไซต์ของเรา นอกจากนี้ คุกกี้ชนิดนี้ยังใช้จำกัดจำนวนครั้งของโฆษณาที่ท่านเห็น รวมทั้งช่วยประเมินประสิทธิภาพของโฆษณาของเรา เราเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการใช้บริการเว็บไซต์ของท่านในรูปแบบข้อมูลไม่ระบุตัวตน (anonymized) ให้กับพันธมิตรด้านการโฆษณาและการสร้างสรรค์ผลงานของเรา
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า
0